วันอาทิตย์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

หกเหลี่ยมเศรษฐกิจ (GMS-EC)

หกเหลี่ยมเศรษฐกิจ 

(Greater Mekong Subregional Economic Cooperation: GMS-EC)



                  โครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงเป็นความร่วมมือของ ประเทศ คือ ไทย พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม และจีน (ยูนนาน) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 โดยมีธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB: Asian Development Bank) เป็นผู้ให้การสนับสนุนหลัก กลุ่มประเทศ GMS มีพื้นที่รวมกันประมาณ ล้าน แสน ตารางกิโลเมตร มีประชากรรวมกันประมาณ 250 ล้านคน และอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ อีกทั้งยังเป็นจุดศูนย์กลางในการเชื่อมโยงติดต่อระหว่างภูมิภาคเอเชียใต้ เอเชียตะวันออก และ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ความเป็นมาของโครงการ       
            เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปีพ.ศ.2535 พัฒนามาจากสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจแต่ได้ขยายรวมไปถึงกัมพูชาและเวียดนาม ทั้งนี้เพื่อเพิ่มอำนาจการต่อรองภายใต้สภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยการเปิดเสรีทางการค้า  และการลงทุน  รวมทั้งการแข่งขันทางเศรษฐกิจที่เป็นไปอย่างรุนแรง โดยหกเหลี่ยมเศรษฐกิจ เป็นโครงการที่ธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB: Asian Development Bank) เป็นผู้ให้การสนับสนุนหลัก ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาระยะที่ คือกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงถึงปี 2563

วัตถุประสงค์ของความร่วมมือของโครงการ
          เพื่อส่งเสริมให้เกิดการขยายตัวทางการค้า การลงทุนอุตสาหกรรม การเกษตร และบริการ สนับสนุนการจ้างงานและยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ให้ดีขึ้น ส่งเสริมและพัฒนาความร่วมมือทางเทคโนโลยีและการศึกษาระหว่างกัน ตลอดจนการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่ส่งเสริมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมและเพิ่มขีดความสามารถรวมทั้งโอกาสทางเศรษฐกิจในเวทีการค้าโลก


สาขาความร่วมมือ 9 สาขา ได้แก่
1.คมนาคมขนส่ง                                                2.พลังงาน                       3.สื่อสารโทรคมนาคม
4.พัฒนาทรัพยากรมนุษย์                                 5.การท่องเที่ยว                6.สิ่งแวดล้อมและจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
7.การอำนวยความสะดวกทางการค้า             8.การลงทุน                      9.การเกษตร

บทบาทของประเทศไทย  
                ประเทศไทยได้มีบทบาทสำคัญในอนุภูมิภาค GMS เนื่องจากเป็นประเทศที่มีพัฒนาการทางเศรษฐกิจเข้มแข็งกว่าประเทศอื่น อีกทั้งยังเป็นศูนย์กลางทางการสื่อสารและคมนาคมในภูมิภาค มีตลาดขนาดใหญ่และเป็นฐานการผลิตและการส่งออกสินค้า ประเทศไทยได้ให้ความร่วมมือและความช่วยเหลือในหลายด้านแก่ประเทศในอนุภูมิภาค


ประโยชน์ของไทยที่ได้รับจากหกเหลี่ยมเศรษฐกิจ
1. ช่วยขยายเศรษฐกิจการค้า การลงทุนในระหว่างประเทศสมาชิก
2. เป็นจุดศูนย์กลางในการเชื่อมโยงติดต่อระหว่างภูมิภาคเอเชียใต้ เอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
3. เป็นโอกาสที่จะขยายฐานการผลิตไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เนื่องจากเป็นแหล่งที่อุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ
4. เป็นโอกาสขยายการลงทุน โดยเฉพาะการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ   
5. การอำนวยความสะดวกทางการค้าภายใต้ GMS เป็นความร่วมมือที่จะช่วยผลักดันให้ประเทศสมาชิก GMS ที่เป็น 
   สมาชิกอาเซียน (ยกเว้นจีน) ลดเลิกมาตรการ NTB ได้เร็วขึ้น




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น